วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
การนำเสนองานวิจารณ์บทความวิจัยครั้งที่ 1

1 ความคิดเห็น:

Aimon Wanaek กล่าวว่า...

วันนี้เป็นการนำเสนองานการสรุปและวิจารณ์บทความวิจัย ข้าพเจ้าเป็นผู้นำเสนอคนแรกจากบทความวิจัยเรื่อง “Individual Inquiry Investigation in an Elementary Science Method Course” ซึ่งเป็นบทความที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ เมื่อนำเสนอเสร็จสิ้นได้เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ ในชั้นเรียนได้ซักถามในประเด็นที่สนใจ รวมทั้งได้รับข้อเสนอแนะและคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอนทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และเข้าใจในประเด็นที่นำเสนอได้ไม่ชัดเจนและควรปรับปรุง ดังต่อไปนี้
1. Individual Inquiry Investigation ในภาษาไทยควรใช้คำว่า “การสำรวจตรวจสอบแบบสืบเสาะรายบุคคล” มากกว่า “การสำรวจตรวจสอบแบบสืบเสาะส่วนบุคคล” ซึ่งคำสองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน โดยที่ ส่วนบุคคล หมายถึง เป็นการกระทำอย่างเป็นส่วนตัว แต่รายบุคคล หมายถึงเป็นการกระทำของคนแต่ละคน ไม่ใช่เป็นกลุ่ม ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับงานวิจัยนี้จึงควรใช้คำว่ารายบุคคลมากกว่าส่วนบุคคล
2. การเขียนงานวิชาการในนภาษาอังกฤษส่วนใหญ่เป็นประโยคที่เป็น Passive คือ ประธานของประโยคเป็นผู้ถูกกระทำ เมื่อแปลเป็นภาษาไทยไม่ควรใช้คำว่า “ถูก” กระทำอย่างนั้นอย่างนี้ เนื่องจากวัฒนธรรมไทยเมื่อมีการถูกกระทำจะถูกมองเป็นภาพลบทำให้งานเขียนที่แปลออกมาไม่มีความเหมาะสม ควรมีการปรับการเขียนข้อความใหม่ที่มีความหมายไม่เปลี่ยนไปจากต้นเดิม เมื่อมีความชัดเจนและเหมาะสมอ่านแล้วทำให้เข้าใจ
3. Paticipants ควรใช้คำว่า กลุ่มที่ศึกษาหรือผู้ให้ข้อมูล ถูกต้องกว่า ใช้คำว่ากลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัย เนื่องจากกลุ่มผู้เข้าร่วมการวิจัยควรจะหมายถึงผู้ทำการวิจัยหลายคนร่วมมือกันในการทำวิจัย
4. ในส่วนของการนำเสนอโดยใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint มีประเด็นที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องดังนี้
4.1 ควรแยกคำถามวิจัย (Research Question) ออกจากบริบท (Context) ให้ชัดเจนไม่ควรนำมารวมอยู่ด้วยกัน เพราะจำถามวิจัยไม่ใช่บริบท
4.2 ส่วนของบริบทควรมีการอธิบายสรุปเกี่ยวกับบริบทที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้ให้กับผู้ฟังได้เข้าใจว่าการวิจัยครั้งนี้มีบริบทของงานอะไร อย่างไรบ้าง ควรอธิบายเกี่ยวกับ I3 Assignment ให้ชัดเจนเนื่องจากเป็นคำสำคัญที่ใช้ในการวิจัยนี้ และควรปรากฏใน PowerPoint ด้วย

4.3 การนำเสนอเรื่องการวิเคราะห็ข้อมูล (Data Analysis) ควรระบุขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปลงใน PowerPoint และอธิบายให้ผู้ฟังได้เข้าใจว่างานวิจัยนี้มีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร
4.4 ส่วนข้อค้นพบ (Fidings) ต้องระบุรายละเอียดเพิ่มเติมว่าการวิจัยนี้มีการค้นพบอะไรเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจเช่นกัน
5. การเขียนกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการวิจัย ควรกล่าวถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิจัย และแสดงให้เห็นว่าส่วนต่างๆ ที่กล่าวถึงนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรให้ชัดเจนเพื่อใช้เป็แนวคิดที่จะทำการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลและอภิปรายผลต่อไป
6. การวิจารณ์บทความวิจัย การวิจารณ์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การแสดงความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับผู้วิจัยแต่ควรวิจารณ์ในแต่ละหัวข้อเริ่มต้นจากชื่อเรื่อง ความสำคัญ วัตถุประสงค์ คำถามวิจัย กรอบแนวคิด บริบท ระเบียบวิธีวิจัย ตลอดจนสรุปและอภิปรายผลการวิจัยว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร มีความเหมาะสมหรือไม่
7. การนำเสนอบทความวิจัยนอกจากเอกสารประกอบการนำเสนอเสนอ (Presentation) ควรต้องเตรียมเอกสารบทความต้นฉบับที่จะนำเสนอนั้นให้กับผู้เข้าร่วมฟังการนำเสนอด้วยเพื่อที่จะได้ให้ผู้ฟังได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน และเพื่อประกอบการอภิปรายซักถามจากผู้ฟัง โดยใช้เอกสารเหล่านั้นอ้างอิง

เมื่อเสร็จการอภิปรายจากการนำเสนองานของข้าพเจ้าเป็นการนำเสนอการสรุปและวิจารณ์บทความวิจัยเรื่อง “Revising the Conceptualisation of Pedagogical Content Knowledge (PCK): PCK as a Conceptual Tool to Understand Teacher as Professionals” โดยนางสาวจิตตมาส สุขแสวง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่กลุ่มที่ศึกษาเป็นครูสอนเคมีที่มีประสบการณ์จำนวน 3 จุดประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาว่าครูมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาบูรณาการกับกาสอน (PCK) อย่างไร สิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้และให้ความสนใจกับการนำเสนอนี้คือ การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดให้องค์ประกอบ PCK ของครู มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการสอนวิทยาศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับความเข้าใจของนักเรียนในการเรียนวิทยาศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรวิทยาศาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับยุทธวิธีในการสอนและการดำเนินการในการสอนวิทยาศาสตร์ และความรู้เกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผล วิธีการวัดและกิจกรรมของผู้เรียน) แต่โดยทั่วไปแล้วครูควรจะความรู้เกี่ยวกับวิธีสอน เนื้อหา และผู้เรียน

การเรียนการสอนในครั้งนี้ข้าพเจ้ามีความประทับใจและขอขอบคุณท่านอาจารย์ผู้สอนที่ได้ให้คำแนะนำในสิ่งที่ดีและถูกต้องเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานครั้งต่อไป