วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2551
การนำเสนอกรอบโครงร่างงานวิจัยของนิสิต

1 ความคิดเห็น:

Aimon Wanaek กล่าวว่า...

วันนี้เป็นการสัมมนาเกี่ยวกับการนำเสนอกรอบโครงร่างงานวิจัยของนิสิตผู้เข้าร่วมสัมมนา ซึ่งดำเนินการสัมมนาโดยนางสาวเยาวลักษณ์ วงศ์พรหม ข้าพเจ้าเป็นคนแรกในการนำเสนอกรอบโครงร่างงานวิจัยในชื่อเรื่อง “การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูสายวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์” ตามด้วยนายเกียรติศักดิ์ ชิณวงศ์ ในเรื่อง “การสอนวิชาชีววิทยา เรื่องพันธุศาสตร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและชีวจ-ริยศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี” และนางสาวจิตตมาส สุขแสวง ในเรื่อง “การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาบูรณาการกับการสอนของครูวิทยาศาสตร์ก่อนประจำการ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร” ตามลำดับ
ภายหลังจากที่ข้าพเจ้านำเสนอเสร็จแล้วได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากเพื่อนร่วมสัมมนาและท่านอาจารย์ผู้สอนในหลายประเด็นต่อไปนี้
- การออกแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (Inquiry Approach) ในรายวิชาวิธีสอนนั้นควรออกแบบการสอนทั้งรายวิชา เพื่อให้นักศึกษาได้แนวทางในการนำไปใช้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะในขณะออกฝึกสอน
- การวัดผลจากการสอนของนักศึกษาควรวัดโดยภาพรวมของนักศึกษาทุกคนพร้อมกับเก็บข้อมูลของนักศึกษาที่เป็นกลุ่มที่ศึกษา
- การศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับ การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ควรเชื่อสสวท.เพียงอย่างเดียว ควรศึกษาจากหลักการและทฤษฎีของนักการศึกษาหลายๆ คนประกอบกันจะทำให้ได้ ทฤษฎีและหลักการที่มีความถูกต้องและหลากหลายมากกว่าของสสวท.เพียงอย่างเดียว
- การกำหนดปัญหาและที่มาของการวิจัย และจำนวนของกลุ่มที่ศึกษาควรทำการศึกษาจากปัญหาการจัดการเรียนการสอนและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะทำให้ได้ปัญหาที่ชัดเจน
- ควรระบุรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพิ่มไว้ในกรอบโครงร่างด้วยเนื่องจากผู้วิจัยได้ออกแบบในการติดตามนักศึกษาฝึกสอนออกไปขณะที่นักศึกษาออกฝึกประสบการณ์ในสถานศึกษาจริง
- ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับงานควรจะมีดังนี้ คือ Inquiry Approach, Method Course, Learning Theory, Constructivist, การเรียนรู้ของนักศึกษาเทียบกับเด็กนักเรียน การผลิตครู (ส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานและส่วนของการฝึกสอน) และหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (วิทยาศาสตร์) สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทุกข้อเสนอแนะและคำแนะนำที่จะเป็นประโยชน์ในการทำงานต่อไป