วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
การนำเสนอการกำหนดแนวคิดในงานวิจัยและการนำเสนอหัวข้อทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของแต่ละคน

1 ความคิดเห็น:

Aimon Wanaek กล่าวว่า...

การสัมมนาในวันนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ การนำเสนอการกำหนดแนวคิดในงานวิจัยของนายนรินทร์ ศรีสุข ในชื่องานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาฟิสิกส์แบบร่วมมือระหว่างครูในเครือโรงเรียนสารสาสน์” และการนำเสนอหัวข้อทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของแต่ละคน
ในส่วนของ การนำเสนอการกำหนดแนวคิดในงานวิจัย อาจารย์ผู้สอนและผู้ร่วมสัมมนาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเสนอแนะกับผู้นำเสนอจากวัตถุประสงค์ของงานวิจัยดังนี้
1. เพื่อศึกษารูปแบบกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ ที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตวิชาฟิสิกส์แบบร่วมมือระหว่างครูโรงเรียนสารสาสน์
2. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพ
2.1 บทเรียนมีประสิทธิภาพตรงตามเกณฑ์ 80/80
2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์ที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ความแตกต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูฟิสิกส์ที่เข้าร่วมงานวิจัย ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ร่วมมือกันพัฒนา
4. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
พบว่า วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 มีความเหมาะสมที่จะศึกษาในการทำวิจัยระดับปริญญาเอก ส่วนวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 – 4 ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยในระดับปริญญาโทที่มีผู้ศึกษาอย่างกว้างขวาง และการทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ศึกษาระดับปริญญาเอกควรจะเป็นการวิจัยที่สอดคล้องกับเป้าหมายของการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่มีเป้าหมายหลักสำคัญดังนี้
1. เพื่อให้เข้าใจหลักการ ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานในวิทยาศาสตร์
2. เพื่อให้เข้าใจขอบเขตธรรมชาติ และข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้มีทักษะสำคัญในการศึกษาค้นคว้า คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหา การจัดการทักษะการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ
5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และสภาพแวดล้อมในเชิงที่มีอิทธิพล และผลกระทบซึ่งกันและกัน
6. เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และการดำรงชีวิต
7. เพื่อให้เป็นคนที่มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
ดังนั้น ถ้าเป็นการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครูควรศึกษาว่าจะพัฒนาครูอย่างไร ศึกษาอะไรจาครูบ้าง ครูมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตในการสอนมากน้อยเพียงใด ศึกษาว่าครูมีความรู้พื้นฐาน ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และทักษะการเรียนรู้ของครูอย่างไร จะทำให้งานมีคุณค่ามากขึ้น
ในส่วนของการนำเสนอหัวข้อทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของแต่ละคนนั้น ส่วนที่ทุกคนต้องไปปรับปรุงคือ กำหนดหัวข้อหลักและหัวข้อรองให้ชัดเจนและสอดคล้องกับงานของตนเอง และมีบางหลักการและทฤษฎีที่ของบางคนศึกษาในเรื่องเดียวกันคือ จากหัวข้อวิจัยเรื่อง “การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรายวิชาชีวเคมีเพื่อพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักศึกษาสาขาวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยคริสเตียน” ของนางสาวเยาวลักษณ์ วงศ์พรหม หัวข้อ “การสอนวิชาชีววิทยา เรื่องพันธุศาสตร์ ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและชีวจริยศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี” ของนายเกียรติศักดิ์ ชิณวงศ์ และหัวข้อ “การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาฟิสิกส์แบบร่วมมือระหว่างครูในเครือโรงเรียนสารสาสน์” ของนายนรินทร์ ศรีสุข ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ร่วมกัน ส่วนหัวข้อ “การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาบูรณาการกับการสอนของครูวิทยาศาสตร์ก่อนประจำการ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร” ของนางสาวจิตตมาส สุขแสวง และหัวข้อ “การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักศึกษาครูสายวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์” ของข้าพเจ้า ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาครูและการเรียนรู้ของครูร่วมกัน ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้ ผู้เข้าสัมมนาในฐานะผู้วิจัยเองจะได้ไปศึกษาร่วมกันและจะได้นำมานำเสนอในคราวต่อไป