วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2552
การนำเสนอทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ได้ศึกษาร่วมกันคือ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์

1 ความคิดเห็น:

Aimon Wanaek กล่าวว่า...

วันนี้เป็นการนำเสนอทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ได้ศึกษาร่วมกันคือ แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ โดยนางสาวเยาวลักษณ์ วงศ์พรหม นำเสนอร่วมกับนายเกียรติศักดิ์ ชิณวงศ์และนายนรินทร์ ศรีสุข โดยที่หัวข้อย่อยของการนำเสนอเกี่ยวกับแนวคิดวิทยาศาสตร์ที่ผู้นำเสนอเตรียมมา มีดังนี้
• ความหมายของแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
• แนวคิดที่คลาดเคลื่อน
• ทฤษฎีที่เกี่ยวกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
• การวัดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
• การสอนแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
• ตัวอย่างแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ (จากบทความวิจัยและบทความทั่วไป) ประกอบด้วย
1. บทความวิจัยเรื่อง “Students’ difficulties in Understanding of the Conservation of Matter in Open and Closed-System Chemical Reactions” ของ Haluk ÖZMEN และ Alipaş AYAS จากวารสาร CHEMISTRY EDUCATION: RESEARCH AND PRACTICE ปี 2003 Vol.4, No.3 หน้า 279-290 บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจแนวคิดของนักเรียนเรื่อง กฎการอนุรักษ์มวลสารในระบบเปิดและระบบปิดของปฏิกิริยาเคมี
2. บทความทั่วไปเรื่อง “Five Major Misconceptions about Evolution” ของ Mark Isaak จากเว็ปไซต์ http://www.talkorigins.org/faqs/faq-misconceptions.html ในบทความเป็นการนำเสนอ แนวคิดที่คลาดเคลื่อนหลัก 5 ข้อเกี่ยวกับวิวัฒนาการ
3. บทความทั่วไปเรื่อง Understanding Misconceptions in Physics (translation from Indonesian) ของ Sugata Pikatan Tan จากเว็ปไซต์ http://tan.awardspace.com/miscon.pdf เป็นบทความที่นำเสนอการทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดที่คลาดเคลื่อนในวิชาฟิสิกส์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แนวคิดที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสภาวะที่มีเงื่อนไข และแนวคิดที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสถานการณ์
ประเด็นที่มีการอภิปรายซักถามและข้อเสนอแนะต่างๆ จากท่านอาจารย์และผู้ร่วมการสัมมนาแต่ละคน ทำให้ข้าพเจ้าได้ความรู้จากการอภิปรายและจากการค้นคว้าเพิ่มเติม สามารถสรุปได้ดังนี้
- แนวคิดทางการศึกษาของ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็นต้นคิดในเรื่องของ “การเรียนรู้โดยการกระทำ” หรือ “Learning by Doing” (Dewey, 1963 อ้างใน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู, 2552) อันเป็นแนวคิดที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับทั่วโลกมานานแล้ว การจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติจัดกระทำนี้ นับว่าเป็นการเปลี่ยนบทบาทในการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเป็น “ผู้รับ” มาเป็น “ผู้เรียน” และเปลี่ยนบทบาทของครูจาก “ผู้สอน” หรือ “ผู้ถ่ายทอดข้อมูลความรู้” มาเป็น “ผู้จัดประสบการณ์การเรียนรู้” ให้ผู้เรียน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงบทบาทนี้ เท่ากับเป็นการเปลี่ยนจุดเน้นของการเรียนรู้ว่าอยู่ที่ผู้เรียนมากกว่าอยู่ที่ผู้สอนดังนั้นผู้เรียนจึง กลายเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพราะบทบาทในการเรียนรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญ หลังจากแนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้น ต่อมาได้มีผู้พัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่สนับสนุนแนวคิดพื้นฐานของดิวอี้ทั้งสิ้น แนวคิดใหม่ ๆ เหล่านี้ต่างช่วยส่งเสริมแนวคิดหลักของดิวอี้ ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น กว้างและหลากหลายยิ่งขึ้น น่าสนใจ และได้ผลมากยิ่งขึ้น
- ความแตกต่างของการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองกับการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งสองเรื่องนี้เป็นคนละเรื่องกัน โดยที่การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถ ความสนใจของผู้เรียน โดยผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Brenda Hall, 2006, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาครู, 2552, นิรนาม, 2552) ส่วนการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) เป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย Professor Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of Technology) ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Junior (นามแฝง), 2006) ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) ได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น
- การสอนแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ควรสอนเพื่อสะท้อนให้เห็นการได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งแนวคิดทางวิทยาศาสตร์เป็นหัวใจสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์
- คำถามวิจัยทางการศึกษาเป็นคำถามที่ต้องการทราบว่าถ้าต้องการวัดตัวแปรควรจะมีวิธีการในการวัดอย่างไร