วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
การนำเสนอการสรุปและวิจารณ์บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของแต่ละคนครั้งที่ 3

1 ความคิดเห็น:

Aimon Wanaek กล่าวว่า...

สัมมนาวันนี้เป็นการนำเสนอการสรุปและวิจารณ์บทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของแต่ละคนครั้งที่ 3 ซึ่งวันนี้ขาดสมาชิกไป 1 คน คือ นายนรินทร์ ศรีสุข ลำดับของการนำเสนอเป็นดังนี้

1. บทความวิจัยเรื่อง “การสร้างวัฒนธรรมในวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษาในครูระดับประถมศึกษา 2 คน (Constructing Cultural Relevance in Science: A case Study of Two Elementary Teachers) ” ของ Terri Patchen และ Anne Cox-Petersen จากวารสาร Journal of Research in Science Education Vol. 92 , หน้า 994 – 1014, ปี 2008 นำเสนอโดย นายเกียรติศักดิ์ ชิณวงศ์

2. บทความวิจัยเรื่อง “ความเข้าใจและแนวคิดที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับบัฟเฟอร์และปัญหาเกี่ยวกับบัฟเฟอร์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเคมี (Undergraduate chemistry students’ perception of and misconceptions about buffer and buffer problems)” ของ MaryKay Orgill และ Aynsley Sutherland จากวารสาร Chemistry Education Research and Practice Vol. 9, หน้า 131 – 143, ปี 2008 นำเสนอโดย นางสาวเยาวลักษณ์ วงศ์พรหม

3. บทความวิจัยเรื่อง “การพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาบูรณาการกับการสอนของครูเคมีก่อนประจำการ (The Development of Preservice Chemistry Teachers’ Pedagogy Content Knowledge)” ของ Jan H. Van Dril, Onno de Jong และ Nico Verloop จากวารสาร Science Teacher Education Vol. 86 หน้า 572 – 590 , ปี 2002 นำเสนอโดยนางสาวจิตตมาส สุขแสวง

4. บทความวิจัยเรื่อง “การใช้กรอบแนวคิดในการจัดการเรียน การสอน (EIMA) ที่เน้นการสืบเสาะหาความรู้แบบแนะแนวทางและการสร้างแบบจำลอง เพื่อสนับสนุนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูก่อนประจำการระดับอนุบาลถึงเกรด 8 (Using a Guided Inquiry and Modeling Instructional Framework (EIMA) to Support Pre-Service K-8 Science Teaching)” ของ Christina V. Schwarz และ Yovita N. Gwekwerere จากวารสาร Journal of Science Education Vol.91, หน้า 158 – 186, ปี 2007 นำเสนอโดย นางสาวเอมอร วันเอก

ภาพรวมของการนำเสนอในวันนี้ค่อนข้างเป็นไปอย่างราบรื่น ทุกคนเตรียมการนำเสนอมาพร้อมด้วยเอกสารประกอบการนำเสนอ ประเด็นที่อภิปรายค่อนข้างน้อย และสังเกตเห็นได้ว่าบทความวิจัยที่เลือกมานำเสนอนั้นส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ศึกษาโดยตรง เป็นงานวิจัยที่เลือกมาจากวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติคือ Journal of Research in Science Education, วารสาร Science Teacher Education และ Journal of Science Education ส่วนที่แตกต่างออกไปคืองานวิจัยที่เลือกมาจาก วารสาร Chemistry Education Research and Practice ก็เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยเป็นนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาจึงทำให้เห็นงานวิจัยอีกแบบหนึ่งที่เนื้อหาของการวิจัยค่อนข้างดีแต่ระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) ไม่ค่อยดี โดยที่ Theoretical Framework นำเสนอไว้ในส่วนหนึ่งของหัวข้อ Methodology แต่ควรนำเสนอเป็นหัวข้อใหญ่ของงานวิจัยให้เห็นอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตามในการนำเสนอของนิสิตทั้ง 4 คนก็ยังมีข้อที่ควรปรับปรุงในบางประเด็นต่อไปนี้

- เนื่องจากบทความวิจัยที่นำมาเป็นภาษาอังกฤษดังนั้นในการแปลหรือถอดความในบางประโยคยังค่อนข้างสับสน ถ้าแปลความหมายผิดก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องนั้นผิดไปจากที่ควรจะเป็น ดังนั้นผู้นำเสนอทุกคนควรได้รับการฝึกฝนในเรื่องของภาษาอังกฤษเป็นอย่างมาก

- การเตรียม Presentation ควรเลือกใช้รูปแบบหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการนำเสนอให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่นำมานำเสนอให้เห็นภาพที่เข้าได้ง่ายและชัดเจน ควรเลือกใช้ภาพและสีให้เหมาะสม ที่สามารถแสดงข้อความที่ทำให้ผู้ร่วมการสัมมนามองเห็นได้ชัดเจน

- ภาษาพูดที่ใช้ในการนำเสนอควรในการพูดภาษาไทยควรออกเสียง ร. เรือ และ ล.ลิง ให้แตกต่างกันอย่างชัดเจน การออกเสียงภาษาอังกฤษควรออกเสียงแต่ละคำที่มีตัวสะกดให้ชัดเจน เพราะจะทำให้สามารถสื่อความหมายได้ถูกต้อง

- Participants ควรใช้คำว่า “กลุ่มที่ศึกษาหรือผู้ให้ข้อมูล”ถ้าไม่มีการสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มประชากรไม่ควรใช้คำว่า “กลุ่มตัวอย่าง”

การนำเสนอบทความวิจัยทั้งสามครั้งที่ผ่านทำให้ข้าพเจ้าได้ฝึกการอ่านและถอดความงานเขียนที่เป็นภาษาอังกฤษ ได้เรียนรู้วิธีการในการเขียนบทความที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งจะเห็นได้จากงานวิจัยที่มาจากวารสารต่างๆ ได้ความรู้และข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยแต่ละงาน เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงานวิจัยหรืองานอื่นๆ ต่อไป